วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

การเจริญภาวนา

การสวดมนต์ เป็นการทำให้จิตมีสมาธิอยู่กับบทสวดมนต์ และพระเบื้องหน้า (หากสวดมนต์ต่อหน้า พระพุทธต่างๆ) นอกจากนี้ยังได้อนิสงค์จากพุทธคุณของพระคาถาต่างๆ ที่เราอ่าน หรือเปล่งวาจาออกไป และพระคาถาต่างๆล้วน เป็นถ้อยคำมงคล ทำให้เกิดศิริมงคลแต่ตัวผู้เปล่งวาจา และผู้ที่ได้ยิน คนโบราณ เชื่อกันว่าหมู่เทวดาชอบฟังธรรมะ และเสียงสวดมนต์ และจะอวยพรอันเป็นมงคลแก่ผู้เปล่งวาจานั้นๆ
การสวดมนต์นั้นก่อนสวดควรทำจิตใจให้สงบ ไม่ว่าจะสวดมนต์ด้วยเหตุผลใดก็ตาม จิตใจต้องนิ่ง และเปล่งเสียง อย่างปกติ ไม่ต้องเร่งประชั้น หรือ พูดรัวจนตนเองยังฟังไม่รู้เรื่อง อย่างนี้เรียกว่าสวดแบบขอไปที ถ้าจะเร็วก็ขอให้เร็ว พอประมาณให้ตนเองสามารถแยกคำได้ในใจก็ยังดี แต่ก้ไม่จำเป้นต้องสวดช้าจนยานคางเอาแต่พอเหมาะเป็นดีที่สุด


ในกรณีสวดมนต์ในห้องพระที่บ้าน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด แต่งกายให้สุภาพ พอประมาณ แต่อย่าให้ถึงขั้นชุดนอนเซ็กซี่ๆ เลยนะครับ แต่ผู้ที่สวดมนต์นอกบ้าน ก็แล้วแต่ความสะดวกเป็นหลักครับ เน้นทุกอย่างอยู่ที่ใจ

การสวดมนต์นั้น ใครนิยมพระคาถาบทไหน ก็ถือว่าดีทั้งนั้น แต่สำหรับผู้ที่ต้องการแนวทางการสวดมนต์ ตามแบบพิธีกรรมไทยโบราณ ก็มีดังนี้

· เริ่มด้วยการกราบสักการะบูชา จะกราบ ๓ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๙ ครั้ง อันนี้แล้วแต่ศรัทธา โดยปกติมักกราบ พร้อมบทมนัสการคุณพระรัตนตรัย คือ อะระหังสัมมา...
· บทต่อมาคือการอาราธนาศีล เพื่อชำระจิตใจให้พ้นจากกิเลส (ถึงจะชั่วขณะก็ยังดี)และกล่าวศีลห้า
· ก่อนสวดมนต์บทต่อไปคนโบราณนิยมให้กล่าวขอขมากรรม แก่พระรัตนตรัย บิดามารดา ครูอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร ในทุกภพทุกชาติ ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน
· เริ่มด้วยการสวดถวายพรพระ ที่เราเรียกว่า อิติปิโส... นั้นแหละครับ แล้วจะต่อด้วย พาหุงฯ มหาการุณิโกฯ ก็แล้วแต่เวลาจะอำนวย
· บทสวดมนต์ต่อมากรณีที่ตั้งใจจะสวดมนต์บทยาวอย่างน้อยหนึ่งบท ก็คือ บทชุมนุมเทวดา อัญเชิญเทวดามาร่วมกันสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย และอำนวยอวยพรแก่เรา
· บทสวดมนต์ควรเรียงตามความสำคัญ คือ บทเกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามากก่อน บทเกี่ยวกับพระธรรม บทเกี่ยวกับพระสงฆ์ บทสรรเสริญคุณบิดามารดา ครูอาจารย์ เทพเทวา เรียงกันมาตามลำดับ
· บทต่อมาคือบทขอพรต่างๆ สุดแท้จะปรารถนา
· ควรปิดท้ายด้วยอุทิศบุญที่สำเร็จจากการสวดมนต์นี้แก่ ตนเอง มารดาบิดา ญาติ ครูอาจารย์ เทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร และแผ่เมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย
· หากมีการกล่าวอัญเชิญเทวาดามาร่วมชุมนุม ควรสวดมนต์กล่าวอัญเชิญเทวดากลับ (ทุกขัปปัตตา...)
· และจบด้วยการกราบ เหมือนกับตอนที่เริ่ม

ที่มา : ไหว้พระหน้าคอม

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

บุญจากการภาวนา

ขออนุญาตคัดลอกมาจาก บอร์ดของ พลังจิต ดอทคอม


เพื่อประโยชน์ของสาธุชนทุกท่าน





บุญจากการภาวนา .............โดย หลวงปู่ดู่







หลวงปู่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิบัติบูชามาก เนื่องจากประโยชน์ที่จะได้รับในขณะที่ปฏิบัติสมาธินั้น ได้บุญพร้อมถึง ๓ องค์คือ ทาน ศีล และภาวนา








เกี่ยวกับทานมีกล่าวไว้ในพระสูตร
ว่าด้วยเรื่องของการให้ทานกับคนธรรมดาหนึ่งครั้ง



ห้ทานคนธรรมดาร้อยครั้งไม่เท่ากับการให้ทานคนที่มีศีลหนึ่งครั้ง
ให้ทานผู้มีศีลร้อยครั้ง ไม่เท่ากับให้ทานพระอริยบุคคลขั้นโสดาบันหนึ่งครั้ง
เรื่อยมาจนถึงให้ทานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าร้อยครั้ง
ไม่เท่ากับถวายสังฆทานหนึ่งครั้ง โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
และการถวายสังฆทานร้อยครั้ง ไม่เท่ากับการถวายวิหารทาน ได้แก่ โบสถ์
วิหาร ฯลฯ แต่ถึงแม้จะถวายวิหารทานไว้มากมายถึงร้อยครั้ง


อานิสงส์ก็ยังไม่เท่ากับการเจริญเมตตาจิต หรือการภาวนาได้แสงสว่างเพียงเท่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น เพียงครั้งเดียว




ถ้าจะมีผู้แย้งว่า ขณะนั่งสมาธิไม่มีการให้ทาน ขอตอบว่า



ทานในขณะปฏิบัติเป็นทานอันยิ่ง คือ อภัยทาน


เพราะในเวลานี้ ถ้าเราโกรธ อาฆาต พยาบาทใครก็ตาม เราต้องให้อภัย มิเช่นนั้นแล้วสมาธิจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เราต้องมีเมตตาธรรมบังเกิดขึ้น




จุดประสงค์ของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับการให้ทานนี้
ก็เพื่อลดความเห็นแก่ตัวนั่นเอง มิใช่เป็นการให้ทานเพื่อหวังผลตอบแทนอย่างเลอเลิศ
เพราะจะกลายเป็นผู้โลภบุญ






หลวงปู่ทวดเคยให้คำจำกัดความของบุญกับผู้เขียนว่า




"บุญ คือความสบายใจ ก่อนทำก็สบายใจ ขณะทำก็สบายใจ ทำแล้วก็สบายใจ คิดถึงทีไร สบายใจทุกที"






เรื่องของศีลนั้น ในขณะที่ปฏิบัติ เราจะเป็นผู้ที่มีศีลอย่างบริบูรณ์ เนื่องจากได้สมาทาน และมีเจตนาที่จะรักษาศีลเรียบร้อยแล้ว



ถึงแม้บางท่านจะภาวนาเลย ก็ย่อมมีศีลอยู่กับใจ (ศีลโดยแท้ คือ ภาวะปกติของใจ ที่ไม่กระเพื่อมไปตามอำนาจกิเลส เรียกว่า ศีลใจก็ไม่ผิด)



เพราะว่าเราไม่ได้ไปผิดศีลข้อใดในขณะนั้น ตั้งแต่การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม เป็นต้น



เมื่อเรามีศีลบังเกิดขึ้น อานิสงส์ของศีลย่อมทำให้เรามีความสุข มีชีวิตอยู่ก็มีความสุข ตายไปแล้วก็มีสุคติเป็นที่หวังอย่างแน่นอน

สำหรับการภาวนามีจุดประสงค์เพื่อให้จิตเกิดความสงบมีสมาธิ การบริกรรมภาวนา ไม่ว่าสัมมาอรหัง พุทโธ หรือพุทธังฯ ธัมมังฯ สังฆังฯ
ต่างก็มุ่งหวังให้จิตเป็นสิ่งเหนี่ยวนำหรือได้ทำงานในสิ่งที่ดี



เนื่องจากสภาพของจิต มักจะไม่อยู่นิ่ง เหมือนลิงมีอาการซุกซน คิดโน่นคิดนี่ ไม่มีสมาธิ ผู้ปฏิบัติจึงต้องอาศัยคำภาวนา ผูกจิตเอาไว้ไม่ให้วอกแวกไปทางอื่น เมื่อมีสติรู้อยู่กับคำภาวนาจนจิตเกิดความสงบ หรือบังเกิดแสงสว่างขึ้น จึงมีอานิสงส์พร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน เป็นการรวมตัวของบุญที่กระทำขึ้น จึงมีอานิสงส์มากกว่าการตักบาตร หรือการทำทานเพียงอย่างเดียว







ดังนั้น การปฏิบัติสมาธิ หรือการภาวนา ดังที่หลวงปู่กล่าวไว้
จึงเป็นการสร้างบารมีอย่างดียิ่ง อันให้ประโยชน์กับตนเองทั้งปัจจุบัน
และภายภาคหน้าด้วยประการนี้.....